By Digital Trader • Publish in Market Trends / Insight • May 26,2021 • 4 min read
Privacy / Private Coin หรือ ความเป็นส่วนตัว จัดเป็น Cryptocurrency ชนิดพิเศษที่ปกปิดธุรกรรมของผู้ส่งและผู้รับ (Anonymous Blockchain Transaction) ซึ่งก็คือการสร้างความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้งานนั่นเอง โดย Privacy Coin บางประเภทก็ใช้การปิด Wallet Address หรือซ่อน Wallet Balance หรือเอาหลายธุรกรรมมารวมๆ กันเพื่อเลี่ยงการวิเคราะห์ Chain ซึ่งในปัจจุบัน มีเหรียญชนิดนี้มากกว่า 60 เหรียญในตลาด
จะว่าไปแล้ว มันก็ดูขัดแย้งกับ Concept ของ Blockchain ที่เน้นความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เพราะ Blockchain โดยทั่วไปจะเปิดให้ทุกคนเห็น Address และ Transaction ใน Network นั้นๆ วิธีการนี้ทำให้เรารู้ได้ว่าใครฝากถอนเท่าไหร่ เหมือนที่ตาม Twitter Whale Alert ก็ใช้หลักการนี้ในการดูเงินในกระเป๋าวาฬว่าเคลื่อนย้ายไปไหนบ้าง แต่ Privacy Coin จะมีวิธีต่างๆ ที่ใช้ในการหลบเลี่ยงและปกปิด เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานนั่นเอง
ตัวอย่าง Privacy Coin ที่มีชื่อเสียง เช่น Firo, Dash, Monero, Zcash, Beam, Grin
Privacy Coin แบ่งได้ 2 ประเภท
1.Anonymity หรือการไม่เปิดเผย เป็นประเภทของ Privacy Coin ที่มีการซ่อนลักษณะเฉพาะ (Idendity) จากธุรกรรม เช่น Firo (XZC) ที่มี z-address สำหรับทำธุรกรรมแบบไม่เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หรือจำนวนธุรกรรม
2.Untraceablility เป็นประเภทของ Privacy Coin ที่ตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ ทำให้บุคคลที่ 3 ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือไม่สามารถติดตามเส้นทางธุรกรรม และไม่สามารถใช้ Blockchain Analysis ได้ เช่น การใช้ CoinJoin เมื่อไม่รู้ว่า Address ใหม่อันไหนเป็นของผู้ใช้งานคนใดก็ไม่สามารถตามเส้นทางการเงินได้
วิธีการรักษาความลับยอดนิยมฉบับ Privacy Coin
Privacy Coin เหล่านี้มักใช้วิธีการที่ต่างกันเพื่อรักษา Anonymity หรือ Untraceablility โดยวิธีการที่นิยมใช้มีดังนี้
Privacy Coin ถูกกฎหมายหรือไม่?
ต้องดูเป็นกรณีๆ ไปแล้วแต่ศาลในประเทศนั้นๆ จะพิจารณา ในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ไม่อนุญาตให้ Exchange ในประเทศดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Privacy Coin เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกใช้ในการฟอกเงิน กรณีเทาๆ จึงเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการเทรดโดยไม่เทรดผ่าน Exchange ที่จดทะเบียนในประเทศที่สั่งห้ามนั่นเอง
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันสามารถซื้อขาย Privacy Coin ได้ตามปกติ เนื่องจาก Exchange ที่ได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลมีระบบ KYC อยู่แล้ว ทำให้หากตรวจพบธุรกรรมที่ผิดปกติก็สามารถตรวจสอบได้
ทำไมบาง Exchange ถึง Delist Privacy Coin?
ทาง Financial Action Task Force (FATF) หรือ คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน ก่อตั้งขึ้นในการประชุม G7 เพื่อศึกษาการฟอกเงิน การดำเนินงานด้านกฎหมาย เส้นทางการเงิน สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ในระดับนานาชาติ รวมถึงออกคำแนะนำหรือมาตรฐานในการป้องกันการฟอกเงิน ได้มีการออก Standards 16 Travel Rule หรือคำแนะนำให้หน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศ โดยมีการระบุข้อมูลผู้ใช้ระหว่างกันเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นบน Exchange
นอกจากนี้ยังมีการป้องกันการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนด้านการเงินกับผู้ก่อการร้าย (AML/CFT) อีก ส่งผลให้บาง Exchange ไม่อยากเสี่ยงทั้งด้านกฎหมาย บัญชี และการตรวจสอบภายใน จึงทำให้มีการ Delist Privacy Coin ออกจากกระดาน
อย่างไรก็ตาม Privacy Coin เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศของ Blockchain และเป็นสิ่งที่กระตุ้นความสนใจของผู้คนได้อย่างกว้างขวาง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า Privacy Coin ทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นการฟอกเงิน หากในอนาคตเหรียญ Privacy Coin ส่วนใหญ่มีการปรับ Feature หรือปรับนโยบายให้สามารถส่งข้อมูลเพื่อตรวจสอบได้ในกรณีที่รัฐร้องขอ ก็น่าจะได้เห็นความคึกคักในตลาดอีกครั้ง
Content Creator
Digital Trader ผมวิเคราะห์ตามหลักสถิติประยุกต์ หลักการของแท่งเทียน และประสบการณ์ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา
Tether (USDT) Stable Coin ตัวเป้งนักดันราคา Bitcoin
Tether โครงการก่อตั้งเหรียญ USDT เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2014 เกิดจาก Brock Pierce, Reeve Collins และ Craig Sellars มีแนวคิดที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลมาเพื่อลดช่องว่างกับสกุลเงิน Fiat
Digital Trader
Apr 19,2021
3 min
Stable Act ฝันร้ายของ Stable Coin ในสหรัฐอเมริกา
เมื่อปลายปี 2020 ได้มีการเสนอร่างกฏหมายเกี่ยวกับ Cryptocurrency 2 ฉบับในสหรัฐฯ คือวันที่ 30 พฤศจิกายน ในชื่อ Stablecoin Classification and Regulation Act of 2020
Digital Trader
Apr 14,2021
3 min