Polkadot the Blockchain Unbound เชื่อมโยงทุกจุดให้เป็นโลกเดียวกัน

By Digital Trader • Publish in Market Trends / Insight • Aug 04,2021 • 3 min read

Polkadot the Blockchain Unbound เชื่อมโยงทุกจุดให้เป็นโลกเดียวกัน

Polkadot เป็นเครือข่าย Blockchain ในลักษณะ Sharded Blockchain โดยสามารถแบ่ง Node ในการประมวลผลออกเป็น Node ย่อยๆ แบบ Proof-of-Stake ที่สามารถรวมระบบ Blockchain จากทุกๆเครือข่ายเข้ามาอยู่ในระบบนิเวศแบบกระจายศูนย์เดียวกัน (Single Decentralized Ecosystem) ได้ ซึ่งก่อตั้งโดย Gevin Wood อดีต CTO ของ Ethereum 

แนวคิดของ Polkadot

แนวคิดของระบบ Blockchain โดยส่วนมากมักจะทำงานโดยใช้ Blockchain เพียงระบบเดียว ซึ่งทำให้การใช้งานในโลกจริงมักพบข้อจำกัดต่างๆ เช่น การประมวลผลบนระบบ Blockchain นั้นจะถูกจำกัดด้วยจำนวนธุรกรรมที่ทำได้ต่อวินาที หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบคอขวดตามมา เนื่องจากมีข้อมูลที่ต้องทำการประมวลผลเป็นจำนวนมาก แต่ระบบไม่สามารถทำการประมวลผลได้ทัน ซึ่งทำให้ระบบ Blockchain นั้นๆ เกิดความล่าช้า และมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ค่อนข้างแพง 

แต่จะดีกว่าไหมถ้ามีระบบ Blockchain ที่สร้างมาเพื่อรวมการทำงานของระบบ Blockchain หลายระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันแบบไร้ศูนย์กลางอย่างมีประสิทธิภาพ (Decentralized) อีกทั้งยังปลอดภัย (Secure) และสามารถขยายเพิ่มได้ (Scalability) จึงเป็นที่มาของโปรเจกต์ Polkadot นั่นเอง

โดย Polkadot ทำให้ระบบ Blockchain สามารถทำการ Scalable ได้ สามารถปรับแต่ง และปลดล็อคปัญหาการสื่อสารข้ามเชน (Cross-Chain Communication) ได้อีกด้วย อีกทั้งยังมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ที่สำคัญยังสามารถอัพเกรดระบบ Blockchain เข้าไปได้แบบไร้รอยต่อโดยไม่เกิด Hard Fork เหมือนการอัพเกรด Bitcoin หรือ Ethereum ทำให้เหล่าผู้พัฒนาสามารถเพิ่ม Function ใหม่ๆ เข้ามาได้ง่าย และรวดเร็ว 

โครงสร้างของ Polkadot ประกอบไปด้วย

1. Relay Chian 

Relay Chian เป็น Main Network และเป็นหัวใจสำคัญของ Polkadot โดย Relay Chian ทำให้ระบบ Blockchain มีความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ Cross-Chain/Blockchain อื่นๆ ผ่านทาง Bridge ซึ่งทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทุกประเภท ตั้งเเต่การ Swap Token ต่าง Chain จนไปถึงข้อมูลบัญชีต่างๆ หรือแม้แต่ราคาหุ้น และทำฉันทามติต่างๆ ร่วมกันก็สามารถทำได้ 

2. Parachain

Relay Chain ออกแบบมาให้ทุกๆ Chain ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายสามารถทำธุรกรรมได้ในเวลาเดียวกันได้ (Parallel Processing) โดยเรียก Blockchain ทั้งหลายบน Polkadot ว่า "Parachain" 

โดย Parachain เป็น Blockchain ที่ใช้ทรัพยากรของ Relay Chain ในการประมวลผลการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาสามารถปรับแต่งคุณสมบัติของเหรียญที่สร้างบน Parachain ได้ตามความต้องการ 

แต่การที่จะเชื่อมต่อ Parachain เข้ากับ Relay Chain นั้นมีการจำกัดการใช้งานด้วยการใช้ระบบประมูล Slot เช่นสมมุติว่าในระบบมีทั้งหมด 100 Slot หลังจากที่มีการประมูลเสร็จทางทีมงานของ Polkadot จะมีการกำหนดว่า Parachian ของโปรเจกต์ต่างๆ จะสามารถต่อเข้ากับ Relay Chain หรือ Main Network ที่ Slot ใด โดยเรียกว่าการทำ “Parachain Slot Auctions/Parachian Auctions” ซึ่งมีทีมงาน Web3 ของ Polkadot เป็นผู้ดูแลว่าโปรเจกต์ใดควรได้ Slot ไป ผ่านการโหวต และการสนับสนุนจากเหล่าผู้ใช้งานที่ใช้ Governance Token “DOT” ในการโหวตนั่นเอง

3. Parathread

Parathread มีความคล้ายคลึงกับ Parachain แต่สามารถจ่ายเงินตามจำนวนบล็อกที่ต้องการใช้ในการพัฒนาระบบ Blockchain ได้ ซึ่งหากจะใช้บล็อกจำนวนเท่าใดก็จ่ายตามปริมาณการใช้งาน เพราะบางครั้งค่าใช่จ่ายสำหรับการทำ Parachain Slot Auction ที่ต้องทำการประมูลนั้นอาจสูงกว่าค่าใช้จ่ายแบบ Pay-as-You-Go Model เมื่อเทียบกับความจำเป็นในการใช้งานนั่นเอง

Consensus Roles บทบาทในระบบของ Polkadot

Consensus Roles ประกอบไปด้วย

  • Collator - ผู้ที่เก็บประวัติและข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดของ Parachain ลงใน Block 
  • Fishermen - ผู้ที่คอยสอดส่องพฤติกรรมที่ผิดปกติ แล้วทำการรายงานต่อ Validator
  • Validator - ผู้ที่ทำการตรวจสอบข้อมูลจาก Collatro และจะได้ DOT เป็นค่าตอบเเทน ซึ่งสามารถทำฉันทามติ และโหวตเพื่อเปลี่ยนแปลงเครือข่ายได้
  • Nominator - ผู้ที่ทำการเลือก Validator ที่น่าเชื่อถือมาคอยดูแล Relay Chain เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระบบ

DOT Token คืออะไร?

DOT เป็น Native token ของ Polkadot Network โดยทำหน้าที่เป็น Governance Token และใช้ในการ Staking และ Bonding โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้

  • Governance เป็นการมอบสิทธิ์ในการควบคุมเครือข่าย โดยผู้ที่ถือครอง DOT จะได้รับสิทธิ์ในการกำหนดทิศทางสำหรับการพัฒนาเครือข่ายใหม่ 
  • Staking ผู้ถือครองเหรียญ DOT จะสามารถเลือกได้ว่าจะทำการ Staking เหรียญจำนวนหนึ่งไว้ในระบบเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลหรือ Validator ให้กับเครือข่าย โดยผู้ที่ทำหน้าที่ได้ดีจะได้รับ DOT เป็นการตอบแทน ซึ่งผู้ที่ทำการทุจริตก็อาจจะถูกระบบยึดเหรียญกลับไป 
  • Bonding คือการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยเครือข่าย Blockchain ที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Relay Chain ผ่านระบบ Bridge นั้นจะต้องทำการฝาก DOT เข้าไปในเครือข่ายก่อนจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะสามารถ Bonding เครือข่ายเข้าด้วยกันได้ 

คุณสมบัติของผู้ที่ถือเหรียญ DOT 

1. สามารถเป็น Governance Token ที่ใช้ในการโหวตเพื่อกำหนดทิศทางของเครือข่ายได้

2. สามารถเป็น Validator โดยการนำ DOT ไป Stake เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูล และจะได้รับ DOT เป็นค่าตอบเเทน

Digital Trader

Content Creator

Digital Trader ผมวิเคราะห์ตามหลักสถิติประยุกต์ หลักการของแท่งเทียน และประสบการณ์ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา

Relate Post

Tether (USDT) Stable Coin ตัวเป้งนักดันราคา Bitcoin
Market Trends / Insight

Tether (USDT) Stable Coin ตัวเป้งนักดันราคา Bitcoin

Tether โครงการก่อตั้งเหรียญ USDT เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2014 เกิดจาก Brock Pierce, Reeve Collins และ Craig Sellars มีแนวคิดที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลมาเพื่อลดช่องว่างกับสกุลเงิน Fiat

Digital Trader

Apr 19,2021

3 min