Tokenization คืออะไร

เขียนโดย Digital Trader • หมวดหมู่ คริปโท 101 • 10 ก.ย. 2564 • เวลาอ่าน 5 นาที

Tokenization คืออะไร

Token คือรูปแบบหนึ่งของชุดข้อมูลที่สร้างมาเพื่อกำหนดสิทธของบุคคลในส่วนแบ่งรายได้ หรือสิทธิต่างๆตามที่ตกลงกับผู้ออก Token โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกเข้ารหัสไว้เพื่อใช้แทนการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นโดยตรง ซึ่งกระบวนการที่ใช้เปลี่ยนชุดข้อมูลนั้นเรียกว่า Tokenization

Asset Tokenization คือการสร้างสินทรัพย์ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital เพื่อเป็นตัวแทนทรัพย์สิน ยกตัวอย่างเช่น สินทรัพย์ทางการเงิน หรือวัตถุสิ่งของอย่างรถยนต์ก็สามารถสร้าง Token เพื่อให้ค่าเฉพาะตัวของรถยนต์นั้นๆ ได้ เปรียบเสมือนการแบ่งชิ้นส่วนของรถยนต์ออกมาขายเป็นส่วนๆ เช่นเครื่องยนต์ Body ที่มี Aerodynamic เฉพาะตัวของรถยนต์นั้นๆ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าซื้อด้วยจำนวนเงินที่แตกต่างกันตามกำลังซื้อ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ Ferrari 250GT ถูกตีเป็นมูลค่ามากกว่า 48 ล้านดอลลาร์ผ่านการประมูลของ RM Sotheby หากมองในมุมของนักลงทุนรายย่อยที่ไม่สามารถเจ้าของรถยนต์อย่าง Ferrari ได้แต่ Tokenization เปรียบเสมือนการถือครองสิทธิ์ของ Farrari ตามจำนวนเงินที่ลงทุน หากใครต้องการเป็นเจ้าของทั้งหมดก็จำเป็นที่จะต้องซื้อกรรมสิทธิ์นั้นจากนักลงทุนที่เป็นเจ้าของคนอื่นๆด้วย

วัตถุประสงค์หลักของการทำ Tokenization เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ในลักษณะการซื้อแบบไม่เต็มจำนวน ยกตัวอย่างเช่น ภาพวาดราคาแพงหลักล้านบาท ซึ่งนักสะสมอาจไม่มีเงินจำนวนมากพอที่จะซื้อภาพวาดทั้งชิ้น แต่หากภาพนั้นถูกแปลงมาอยู่ในรูปของ Tokenization และสามารถแบ่งขายกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้ นักสะสมอาจจะซื้อภาพนั้นเพียงแค่ 10% และได้กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของนั้นมาเป็นจำนวน 10%(มีบางประเทศที่ออกกฎหมายรองรับอย่างเช่น ลิกเตนสไตน์ สวิตเซอร์แลนด์เเละเยอรมนีที่ให้มีกรรมสิทธิ์ได้ตามกฎหมาย แต่ในไทยไม่ได้สิทธิ์การโหวต จึงมักถูกใช้ในลักษณะการเก็งกำไร) ซึ่งนักสะสมอาจจะโอนหรือขายให้กับผู้ที่ต้องการต่อไปอีกก็ได้ หรือจะเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรและขายในวันที่ราคาสูงขึ้นได้

Tokenization ยังทำให้สิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้สามารถมีมูลค่าได้อย่างเช่นนักกีฬาชื่อดังนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถแปลงชื่อเสียงหรือความโด่งดังนั้นออกมาในรูปของ Tokenization ได้

การ Tokenization สามารถทำได้ง่ายขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยี Blockchain เข้ามา เนื่องจากตัวข้อมูลที่อยู่บนระบบของ Blockchain นั้นมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมากจึงทำให้การโกงเกิดขึ้นได้ยากขึ้น การทำ Tokenization ยังเป็นจุดที่ทำให้เกิดการทำ STO (Security Token Offering) เป็นลักษณะที่คล้ายกับ ICO แต่จะต้องผ่านการตรวจสอบทางกฏหมายซึ่งนักลงทุนจะได้รับการคุ้มครองมากกว่า ICO

ข้อดีของ Tokenization

  • เพิ่มสภาพคล่องให้กับสินทรัพย์ นักลงทุนหรือนักสะสมสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้ง่ายขึ้น หรือผู้ขายสามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งตลาดใหม่ของโลกอนาคต
  • ความโปร่งใสในตัวธุรกรรมและสินค้า เนื่องจากเทคโนโลยี Blockchain เป็นระบบหลังบ้านทำให้ความปลอภัยของข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปข้อจำกัดของ Tokenization
  • ข้อจำกัดในเรื่องของกฏหมาย แต่ละประเทศนั้นมีข้อกฏหมายการบังคับใช้ที่ไม่เหมือนกันซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีของหลายๆประเทศในทุกวันนี้
  • Tokenization ทำงานอยู่บนระบบของ Blockchain ซึ่งถือว่ายังคงเป็นเรื่องใหม่ และเป็นเทคโนโลยีที่ยังเกิดขึ้นมาไม่นานทำให้การ Scaling (การเพิ่มขยายขนาดโครงสร้างของระบบ) อาจเกิดปัญหาได้ เนื่องจากยังไม่มี Infrastructure ที่รองรับมากพอ รวมถึง Blockchain ยังคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเองอยู่พอสมควรว่าจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องความโปร่งใสได้จริงหรือไม่

Tokenization ช่วยให้เจ้าของสินทรัพย์สามารถโอนสิทธิความเป็นเจ้าของ เพื่อให้สามารถซื้อขายได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถช่วยให้สิ่งของบางอย่างที่ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าได้ สามารถมีมูลค่าในตัวมันเองได้ ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยี Blockchain เป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้นประกอบกับกฏหมายในหลากหลายประเทศเริ่มมีการยอมรับ ซึ่งจะทำให้เห็นการนำ Tokenization มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

บทความถัดไป

ดิจิตอล เทรดเดอร์

ผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดการประเมินมูลค่าบิทคอยน์
คริปโท 101

แนวคิดการประเมินมูลค่าบิทคอยน์

หลายคนเคยพูดไว้ว่า “บิทคอยน์ประเมินมูลค่าไม่ได้เนื่องจากไม่มีผลประกอบการ” ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงที่ว่า บิทคอยน์นั้นไม่มีผลประกอบการเหมือนกับหุ้นที่แสดงมูลค่าออกมาในรูปแบบรายได้หรือกำไรของบริษัท แต่ก็ไม่ควรลืมคิดในมุมที่ว่าสินทรัพย์แต่ละประเภทนั้นมีลักษณะเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบในการประเมินมูลค่าของแต่ละสินทรัพย์ก็มีความต้องแตกต่างกันไปด้วย

ดิจิตอล เทรดเดอร์

09 ส.ค. 2564

3 นาที