เขียนโดย Digital Trader • หมวดหมู่ คริปโท 101 • 12 เม.ย. 2564 • เวลาอ่าน 5 นาที
บทความถัดไป
ผู้เขียน
Cryptocurrency โดยความหมายคือ สกุลเงินที่ถูกเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และยืนยันธุรกรรมผ่านระบบ Blockchain โดยแนวคิดของ Cryptocurrency ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าบนโลกออนไลน์
Cryptocurrency เป็นที่นิยมของนักลงทุนมากในปัจจุบัน และปฏิเสธไม่ได้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะต้องมี Cryptocurrency ติดพอร์ทไม่มากก็น้อย หรือบางคนก็เลือกลงทุนเฉพาะในตลาดนี้อย่างเดียวด้วยซ้ำ แต่รู้หรือไม่ว่า Cryptocurrency ที่เราลงทุนนั้นทำธุรกิจอะไร และสามารถนำมาใช้งานกันอย่างไรบ้าง
ประเภทของเหรียญ Cryptocurrency และการนำมาใช้
1. Exchange Coin
หนึ่งในธุรกิจยอดนิยมของการสร้าง Cryptocurrency ในยุคแรก คือการนำเงินทุนมาเปิดเป็น Exchange เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ด้วยกันเอง ในยุคแรกของการซื้อขายจะมี Exchange ไม่มากนักจึงทำให้การเข้าถึง Cryptocurrency นั้นค่อนข้างเข้าถึงยาก แต่เมื่อนักพัฒนาได้เห็นถึงปัญหาเหล่านี้ จึงทำการสร้าง Token เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจขึ้นมา ส่งผลให้ในปัจจุบันมี Exchange จำนวนมากที่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ได้ตามความต้องการ โดยแต่ละ Exchange ก็จะมีรูปแบบ และการทำงานที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่าง Cryptocurrency ประเภทนี้คือ : Binance, FTX, OKB
2. Oracle Coin
เนื่องจาก Blockchain มีลักษณะบัญชีแยกประเภทแบบกระจายแต่ละ Node จึงต้องทำให้สามารถค้นหาผลลัพธ์สุดท้ายที่เหมือนกันใน input ชุดเดียวกัน อย่างเช่น A โอนเงินไป 5 บาท ให้ B สิ่งที่ Blockchain ทำคือ ตัดเงิน 5 บาท ออกจากบัญชี A และ บวก 5 บาทให้บัญชี B ทุก Node บนเครือข่ายจะได้รับสถานะเดียวกัน แต่หากเกิดเหตุไม่คาดฝันจนทำให้ข้อมูลเกิดการผิดพลาด จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงทำให้นักพัฒนาได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า Oracle เพื่อส่งข้อมูลให้ Blockchain
เมื่อ Blockchain เป็นระบบปิด จึงต้องมี Oracle เป็นตัวป้อนข้อมูลให้กับ Blockchain เพื่อใช้เขียน Smart Contract โดย Oracle เป็นการเชื่อมต่อ Blockchain ที่กำหนดเข้ากับข้อมูลนอกเครือข่าย ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลทุกรายการผ่านธุรกรรมภายนอก ด้วยวิธีนี้จึงทำให้มั่นใจได้ว่า Blockchain มีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการยืนยันตัวตน และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิด Cryptocurrency ด้านนี้ขึ้น เพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่าง Blockchain กับข้อมูลนอกระบบเครือข่าย
ตัวอย่าง Cryptocurrency ประเภทนี้คือ : Band Protocol, Chainlink
3. Payment Coin
ใช้เป็น Open Payment Network เป็น Platform ในการรับและส่งเงินในรูปแบบของ Digital Asset ซึ่งเป้าหมายคือสร้างรูปแบบการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก เพื่อลดต้นทุน และประหยัดเวลา รวมถึงการโอนเงินข้ามประเทศก็เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก และอาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในแวดวงการค้าระหว่างประเทศ
ตัวอย่าง Cryptocurrency ประเภทนี้คือ : Ripple, Stella, Dogecoin
4. Privacy Coin
Cryptocurrency ด้านนี้เป็นการมุ่งเน้นถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน สามารถรับ และส่งเงินได้ในรูปแบบที่ปลอดภัย ไม่ระบุตัวตน หรือพูดง่ายๆคือการปิดข้อมูลเส้นทาง และจำนวนการทำธุรกรรม โดยการพัฒนาระบบอย่าง Private Send เพื่อให้เกิดความเป็นส่วนตัวมากที่สุดหากผู้ใช้ต้องการ โดยทำธุรกรรมผ่าน Public ledgers ซึ่งจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของแต่ละบุคคลเช่น Address หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ทำธุรกรรม
ตัวอย่าง Cryptocurrency ประเภทนี้คือ : Firo, Monero, Dash
เหรียญ Cryptocurrency กับตัวอย่างการใช้งานในชีวิตจริง
ในปัจจุบันโลกกำลังให้การยอมรับ Cryptocurrency มากขึ้น รวมถึงได้เริ่มมีการใช้งานอย่างจริงจังในหลายประเทศแล้ว จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของ Cryptocurrency ก็เพื่อใช้แทนเงินที่สามารถใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเราจะเห็นการใช้ในด้าน Payment กันเป็นส่วนใหญ่
ในประเทศไทยคุณอาจจะยังนึกภาพไม่ออกสำหรับการนำ Cryptocurrency มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ในต่างประเทศมีวิธีที่เราจะสามารถใช้ Cryptocurrency เพื่อการใช้จ่าย และการที่จะสามารถใช้งานได้นั้นจะต้องมีการผูกกับบัตรเดบิต หรือเครดิต ซึ่งทำให้สามารถใช้จ่ายได้เหมือนกับเงินสด โดยบัตรเหล่านี้ออกโดยบริษัทรายใหญ่ทำให้สามารถใช้ได้ทุกที่ ที่ยอมรับ Visa และ Mastercard
ตัวอย่างบัตรที่ใช้ Cryptocurrency ได้
การรับชำระเงินเป็น Cryptocurrency
เมื่อกระแสของ Cryptocurrency กำลังมาแรงทำให้เริ่มถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการใช้ Bitcoin ในแอฟริกาใต้ และอินเดีย รวมไปถึงบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับ Cryptocurrency มากขึ้น อย่างเช่น Paypal ที่เปิดให้ผู้ใช้บริการสามารถซื้อขาย และชำระสินค้าในเครือข่ายผ่าน Cryptocurrency สกุลต่างๆได้
Shopify บริษัทด้าน E-Commerce ของแคนาดารับชำระเงินด้วย Cryptocurrency จากการร่วมมือกับ CoinPayment และ App ยอดนิยมอย่าง Square ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้วย Cryptocurrency ได้แล้ว
ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีบางเมืองที่รับชำระภาษี และทำธุรกรรมทางการเงินท้องถิ่นในรูปแบบของ Cryptocurrency แล้ว
อีกทั้งในปัจจุบันก็เริ่มเห็นดารา นักร้อง นักแสดงหลายท่านเริ่มมีการรับค่าตัวในรูปแบบของ Cryptocurrency ตัวอย่างข่าวล่าสุด เช่น หญิงแย้ นนทพร ได้ประกาศรับค่าตัวเป็น BTC, ETH, BNB, ADA, CRO และ CAKE หรือแม้กระทั่งนักร้องชื่อดังวง Lipta อย่าง คัตโตะ ก็ได้ประกาศรับค่าตัวเป็น BTC, BNB และ USDT เช่นกัน
ความท้าทายของ Cryptocurrency
ถูกมองว่าใช้ซื้อของผิดกฎหมาย และฟอกเงิน
หลายคนยังคงติดภาพของ Cryptocurrency ว่ามักใช้ในการฟอกเงิน หรือซื้อสินค้าผิดกฎหมายอยู่ แต่ด้วยการทำงานในระบบหลังบ้านอย่าง Blockchain ทำให้ธุรกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งไม่ต่างจากการตรวจสอบการเงินทั่วไปเพราะผู้ใช้ได้ทำการ KYC ทำให้มีข้อมูลเพียงพอที่จะตรวจสอบการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ความปลอดภัยจากการถูก Hack
ด้วยตัวระบบที่มี Private Key ทำให้ความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว และที่จริงการ Hack ไม่ได้เกิดจากตัว Cryptocurrency แต่มักถูก Hacker เจาะระบบของ Exchange แทน ซึ่งเป็นปัญหามากในช่วงแรก โดยมีกระแสข่าวในช่วงปี 2017-2018 ว่ามี Exchange ถูก Hack อยู่บ่อยครั้งทำให้เกิดความกังวลแก่นักลงทุนเป็นอย่างมาก แต่ในปี 2020 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีข่าวการถูก Hack ของ Exhange ลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งหมายความว่าหลาย Exchange เริ่มมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้น
Regulations
หลายประเทศเริ่มให้การยอมรับใน Cryptocurrency อย่างจริงจัง และได้มีการสร้าง Cryptocurrency ของประเทศตัวเองออกมาใช้บ้างแล้ว แต่ในหลายประเทศก็ยังไม่ให้การยอมรับอย่างเช่นตุรกีที่มีการสั่งปิดแพลตฟอร์มการซื้อขาย Cryptocurrency ในประเทศ
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันได้มีการใช้งานของ Cryptocurrency กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น มีทั้งแก้ปัญหาในเรื่องข้อมูลของระบบ Blockchain เองอย่างสาย Oracle และเริ่มมีการนำไปใช้ในชีวิตจริงอย่างสาย Payment ที่ช่วยในการโอนเงินให้สะดวกรวดเร็วขึ้น เริ่มมองเห็นได้ว่ามีการผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างบัตรเครดิต และเดบิตที่รองรับการใช้ Cryptocurrency เพื่อชำระสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงบริษัทหลายรายเริ่มมีการเปิดรับ Cryptocurrency มากขึ้น รวมถึงการนำไปใช้จากภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของ Cryptocurrency อย่างแท้จริง ที่จะทำให้มันมีคุณค่า และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ในอีกมุมหนึ่ง Cryptocurrency ยังต้องพิสูจน์กันอีกมาก เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างอย่างแท้จริง
และในอนาคต Cryptocurrency เหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่เชื่อมโลกให้สามารถติดต่อรวมถึงทำการค้าระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และมีโอกาสที่จะสามารถเข้ามาแทนสกุลเงินบนโลกนี้เพื่อใช้ทำการแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งหมดในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมตลาด Cryptocurrency ได้กลายเป็นตลาดที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากนักลงทุน